อย่ามองข้าม! ใส่ใจ "ตับ" ก่อนโรคมาเยือน

ความสำคัญของตับ เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีน้ำหนักประมาณ 2% ของร่างกาย ตำแหน่งอยู่บริเวณท้องส่วนบนสุดค่อนไปทางด้านขวา มีสีน้ำตาล การทำงานของตับค่อนข้างมีความสลับซับซ้อน และมีหน้าที่สำคัญหลายประการในการช่วยให้เรามีชีวิตได้อย่างปกติสุข ดังนั้นตับจึงเปรียบเสมือนหน้าต่างสะท้อนสุขภาพที่ดี จึงไม่แปลกที่ในโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี จำเป็นต้องมีการตรวจสมรรถภาพหรือการทำงานของตับอยู่ด้วยเสมอ

หน้าที่ของตับ

สร้างน้ำดี และขับน้ำดีออกมาทางท่อน้ำดี ทำให้กระบวนย่อยและดูดซึมสารอาหารประเภทไขมันทำได้ง่ายขึ้น
เป็นแหล่งผลิตและสะสมพลังงานของร่างกาย โดยเก็บเอากลูโคส (glucose) ไปสะสมไว้ในเซลล์ตับ ในสภาพของไกลโคเจน (glycogen) และเปลี่ยนไกลโคเจนกลับออกมาเป็นกลูโคส ในยามที่ร่างกายต้องการพลังงาน
เป็นแหล่งผลิตหรือแหล่งสะสมสารอาหาร รวมทั้งวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ ดี และวิตามินบี12 เป็นต้น
เป็นแหล่งผลิตสารสำคัญอื่นๆ เช่น โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแข็งตัวของเลือด รวมถึงการนำโปรตีนเก่ามาผ่านขบวนการรีไซเคิลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
เป็นเกราะกำบัง เพราะตับเป็นแหล่งที่อยู่ของเซลล์สำคัญ มีชื่อเรียกเฉพาะว่า คุฟเฟอร์เซลล์ (Kupffer's cell) ซึ่งทำหน้าที่ดักจับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย


ตับกับการทำลายสารพิษ

ตับ เป็นอวัยวะที่สำคัญในการทำลายสารพิษต่างๆ ที่ร่างกายได้รับในแต่ละวัน ทั้งจากการรับประทาน (ยา สารกันบูด ยาฆ่าแมลง เชื้อรา) การสูดดม การซึมผ่านผิวหนัง หรือแม้แต่สารพิษที่ร่างกายผลิตขึ้นเอง ทั้งหมดนี้ ต้องผ่านด่านปราการสำคัญ คือ ตับ เพื่อทำการขจัดสารพิษ โดยตับจะจัดการให้เป็นสารที่ไม่มีพิษและขับออกจากร่างกาย ทั้งการขับออกพร้อมกับน้ำดีหรือขับออกทางปัสสาวะ ในทางตรงกันข้าม หากตับไม่สามารถทำลายสารพิษได้หรือเกินขีดกำลังความสามารถของตับ สารพิษนั้นก็จะไปทำลาย เซลล์ตับได้เช่นเดียวกัน

ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพตับ

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจํา ทําให้เกิดภาวะตับอักเสบและเรื้อรังจนเป็นตับแข็งได้
ผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ หรือบี และไม่ได้รับการรักษา ทําให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง และกลายเป็นตับแข็งหรือมะเร็งตับ
การรับประทานยาบางชนิดติดต่อเป็นระยะเวลานาน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ หรือแม้แต่ยาแก้ปวดลดไข้พาราเซตามอลที่เราคุ้นเคย ก็อาจส่งผลต่อสุขภาพตับได้
การได้รับสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษที่สร้างมาจากเชื้อราที่ปะปนมาในอาหารจำพวกถั่วต่างๆ ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ที่เก็บไว้ไม่ดีและมีความชื้น การได้รับสารนี้เป็นเวลานานเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับ
ผู้ที่ทำงานสัมผัสกับสารพิษต่างๆ เช่น คาร์บอนเตตราคลอไรด์ (Carbon tetrachloride) และคลอโรฟอร์ม (Chloroform) เป็นต้น
ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกิน เบาหวาน อาจส่งผลต่อสุขภาพของตับได้เช่นเดียวกัน

สารอาหารบำรุงตับ
แดนดิไลอ้อน (Dandelion) เป็นพืชสมุนไพรที่พบมากในแถบยุโรป นิยมใช้เพื่อขจัดสารพิษและเพิ่มประสิทธิภาพการทำลายสารพิษที่ตับ เนื่องจากมีฤทธิ์ส่งเสริมการทำงานของตับและเพิ่มการหลั่งน้ำดีมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งเสริมการกำจัดของเสียที่ไตและมีฤทธิ์ขับปัสสาวะตามธรรมชาติ จึงเป็นการลดการสะสมของเสียและสารพิษอันเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ขนาดรับประทานที่แนะนำต่อการบำรุงตับ 550 มิลลิกรัมต่อวัน
รายละเอียดเพิ่มเติม > https://www.gnc.co.th/dandelion-root-550mg-100c.html

กลูตาไธโอน (Glutathione) นอกจากจะนำมาใช้เพื่อความงามหรือการทำให้ผิวแลดูกระจ่างขาวใสแล้ว ยังนิยมนำมาบำรุงส่งเสริมการทำงานของตับ เนื่องจากกลูตาไธโอนเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นของเอนไซม์ Glutathione S-transferase ในกระบวนการขับสารพิษออกจากร่างกาย แต่หากมีปริมาณของสารพิษมากเกินความสามารถของกลูตาไธโอน สารพิษที่เหลือจะเล็ดลอดเข้าสู่เนื้อตับและทำลายเซลล์ตับโดยตรง ดังนั้นการเพิ่มระดับกลูตาไธโอนจึงเสมือนเป็นการเพิ่มสารช่วยป้องกัน การทำลายจากสารพิษได้ นอกจากนี้กลูตาไธโอนยังเป็นสารตั้งต้น Glutathione peroxidase ที่ช่วยทำลายอนุมูลอิสระโดยตรง ขนาดรับประทานที่แนะนำในการบำรุงตับ 250 มิลลิกรัมต่อวัน
รายละเอียดเพิ่มเติม > https://www.gnc.co.th/gnc-l-glutathione-250mg-30-capsules.html

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยสมุนไพรไทยที่มีการศึกษาฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับและช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย อาทิเช่น รางจืด ลูกใต้ใบ กระเม็ง ฟ้าทะลายโจร มะขามป้อม เป็นต้น

นอกจากตัวช่วยในการบำรุงสุขภาพตับอย่างพืชสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแล้ว การดูแลรักษาสุขภาพตับให้แข็งแรงสามารถทำได้ง่ายๆ เช่น หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ และสวมอุปกรณ์ป้องกัน เมื่อจำเป็นต้องทำงานสัมผัสกับสารเคมี หรือยาฆ่าแมลง เป็นต้น