3 โรคร้าย ทำลายดวงตา รีบเช็คก่อนเสี่ยง!

ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าบางครั้งเราก็แอบเผลอทำร้ายดวงตาอยู่บ่อยๆ กว่าจะรู้ตัว กลายเป็นว่าดวงตาใช้การไม่ได้แล้ว ยิ่งช่วงอายุเรามากขึ้นเท่าไหร่ โรคร้ายเกี่ยวกับดวงตาก็จะมาเยือนเราได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เราจึงหยิบ 3 โรคร้ายสุดอันตรายที่เกี่ยวข้องกับดวงตาโดยตรงมาให้ชาว GNC ได้ลองอ่าน ได้ลองเช็คกันดูว่าดาเมจความรุนแรงของโรคเหล่านี้ทวีคูณมากแค่ไหน


1. ต้อกระจก : เมื่อเลนส์ใสกลายเป็นขุ่นมัว

ปัจจุบันโรคต้อกระจกจัดเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของอาการตาบอด ต้นเหตุของโรคเกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน ตัวหลักคือ เซลล์บุเลนส์ตาเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา แล้วจับตัวเป็นชั้นหนาแต่ไม่แน่น ทำให้สารอาหาร น้ำ และสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ แพร่เข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์ได้ยาก กระจกตาจึงขุ่นมัว ร่วมกับส่วนประกอบที่เป็นโปรตีนในกระจกตาเปลี่ยนแปลงไป การหักเหแสงเบี่ยงเบนผิดจากปกติ แสงที่ผ่านลูกตาจึงกระจัดกระจาย บวกกับความขุ่นของเลนส์ตาทำให้ภาพที่เห็น พร่ามัวไม่ชัดเจน มองเห็นภาพคล้ายมีหมอกมาบังตลอดเวลา โดยเฉพาะบริเวณตรงกลางภาพ แม้วิทยาการทางการแพทย์สมัยนี้จะสามารถจัดการด้วยการผ่าตัดได้ภายในวันเดียว แต่ทางที่ดีเราควรป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ จะดีกว่า


2. ต้อหิน : ตัวร้ายทำลายเส้นประสาท
สาเหตุการเกิดโรคต้อหินคือ ระดับความดันในลูกตาที่ปกติจะอยู่ไม่เกิน 21 มิลลิเมตรปรอท หากความดันในลูกตาเกิดพุ่ง สูงขึ้นแล้วไปกดทับเส้นประสาทตา จนเลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงดวงตาได้ ก็จะทำให้ตาบอดในที่สุด ต้อหินสามารถแบ่งออกได้ 2 แบบคือ


1. ต้อหินมุมปิดที่มีอาการเฉียบพลัน อาการคือ ตาจะแดงชัดเจน ปวดตามาก ถ้าเส้นประสาทเริ่มเสีย ตาจะเห็นภาพเฉพาะตรงกลางขณะที่รอบๆ มืดสนิท
2. ต้อหินมุมเปิด ผู้ที่มีความเสี่ยงสำหรับโรคนี้คือ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวสายตรงเป็นมาก่อน สายตาสั้นมาก รวมทั้งผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป


3. จอประสาทตาเสีย
จอประสาทตาเสีย (AMD :Age-related macular degeneration) คือ ภาวะที่เยื่อบุของจอประสาทตาส่วนที่รับภาพตรงกลางตาพอดีมีการเสื่อมสภาพ หรืออาจมีเลือดออก หรือมีการสร้างเส้นเลือดใหม่ ทำให้เนื้อเยื่อจอตาที่อยู่ชั้นในสุดเกิดบวมน้ำ โรคนี้น่ากลัวตรงที่จะไม่มีอาการปวดใดๆ ให้รู้ตัวก่อน ภาพที่ปรากฏแก่สายตาอาจมองเห็นตรงกลางภาพไม่ชัดเจน พร่ามัว มองเห็นเหมือนมีจุดดำบังตรงกลางหรือเห็นภาพและเส้นตรงบิดเบี้ยวไปผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้ เมื่อเป็นแล้วจะรักษาได้ยาก วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกัน ซึ่งทางสถาบันตาแห่งชาติสหรัฐฯแนะนำว่าการรับประทานลูทีน สามารถป้องกันและชะลอการดำเนินโรคจอประสาทตาเสียได้ดี

 

สารอาหารเพื่อสุขภาพตา

1. ลูทีน (Lutein)
เป็นรงควัตถุกลุ่มแคโรทีนอยด์สีเหลืองที่ได้จากกลีบดอกดาวเรือง พบมากในผักใบเขียว จัดอยู่ในกลุ่ม non-provitamin A ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายได้ แต่สิ่งที่ลูทีนมีดีกว่าสารกลุ่มแคโรทีนอยด์อื่นๆ คือ คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระดีเยี่ยม ดูดซึมได้ดีในทางเดินอาหาร สามารถกระจายตัวเข้าไปอยู่ในจอตา กระจกตา จอประสาทตา จึงช่วยต้านการทำลายเซลล์ในบริเวณนั้นๆ ได้ดีกว่าสารกลุ่มแคโรทีนอยด์อื่นๆ และจากการวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่าผู้ที่รับประทานลูทีนเป็นประจำสามารถป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ดี ช่วยลดอัตราการเกิดต้อกระจกได้ถึง18% ทั้งยังมีข้อมูลว่าลูทีนช่วยป้องกันมะเร็งบางชนิดและภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโรคหัวใจอีกด้วย ขนาดรับประทานที่แนะนำ 20-40 มก./วัน

รายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม คลิก > https://www.gnc.co.th/lutein-20mg-60sg.html


2. สารสกัดบิลเบอร์รี่ (Bilberry Extract)
ในบิลเบอร์รี่มีส่วนประกอบของสาร “แอนโทไซยาโนไซด์” ช่วยปกป้องผนังหลอดเลือดและหลอดเลือดฝอยเล็กๆ ที่อยู่ในดวงตา รวมถึงเพิ่มการไหลเวียนเลือดในตา ทั้งยังป้องกันอันตรายจากแสงแดดไม่ให้สายตาเสื่อม ช่วยทำให้การมองเห็นคมชัดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน บิลเบอร์รี่จึงเหมาะกับคนที่การมองเห็นในตอนกลางคืนไม่ชัดเจน ต้อหิน ต้อกระจก และจอประสาทตาเสื่อมสภาพ รวมถึงอาการตาแห้ง บิลเบอร์รี่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทางกระเพาะอาหาร ดังนั้นควรรับประทานขณะท้องว่าง ก่อนมื้ออาหารอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ขนาดรับประทานที่แนะนำ 60-180 มก./วัน

รายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม คลิก > https://www.gnc.co.th/bilberry-ectract-60mg-100c.html


3. เบต้า-แคโรทีน (Beta-Carotene)
เป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์อีกตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นที่รู้จักกันดี โดยเบต้าแคโรทีนสามารถแปลงเป็นวิตามินเอได้เมื่อร่างกายต้องการ นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญที่จอประสาทตา ช่วยเร่งการสร้างสารโรดอปซินที่ทำหน้าที่รับแสง แปรแสงเป็น สัญญาณภาพสู่สมอง ช่วยให้การมองเห็นในเวลากลางคืนดีขึ้น มีการศึกษาของวิทยาลัยสุขภาพและการแพทย์เขตร้อนแห่งลอนดอนระบุว่า ระดับเบต้า-แคโรทีนในเลือดสัมพันธ์กับอัตราการเกิดโรคต้อกระจกที่น้อยลง หรือเบต้า-แคโรทีนช่วยป้องกันต้อกระจกนั่นเอง ขนาดรับประทานที่แนะนำ 6 มก./วัน

รายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม คลิก > https://www.gnc.co.th/beta-carotene-6mg-100s.html


4.ดีเอชเอ (DHA)
แหล่งโอเมก้า 3 (Omega-3) ที่พบมากในน้ำมันปลา เป็นสารอาหารอีกกลุ่มที่ได้รับการศึกษาว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพตา ซึ่งช่วยชะลอการเกิดความเสื่อมของจอประสาทตา ช่วยทำให้ดวงตามีความชุ่มชื้น ป้องกันอาการตาแห้ง โดยเฉพาะผู้ที่สวมใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ ดังนั้นกรดไขมันจำเป็นดังกล่าว จึงมีส่วนช่วยให้ดวงตามีสุขภาพดี ขนาดรับประทานที่แนะนำ 250-500 มก./วัน

รายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม คลิก > https://www.gnc.co.th/dha-250mg-60s.html